วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

สมาชิกในกลุ่ม


1.ด.ช.ปฐมพงศ์ หลงเดียว  เลขที่ 8


                                               2.ด.ญ.ธิดารัตน์  สุวรรณรัตน์ เลขที่ 16
                                               3.ด.ญ.ปัทมพร   กดทรัพย์ เลขที่ 17
                                               4.ด.ญ.มณีรัตน์  แก้วเกิด เลขที่ 35
                                               5.ด.ญ.ศุภมาส ทองยอดแก้ว เลขที่37

ม.2/6


คำถาม

1.การสื่อสาร หมายถึง อะไร
ก. กระบวนการการถ่ายโอน
ข. การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง
ค. ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริง
ง. การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในสมัยโบราณ


2.repeater หมายถึง อะไร
ก. เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง
ข. ใช่ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน
ค. เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล
ง. สามารถกรองข้อมูลได้


3.โพรโทคอล  หมายถึงอะไร
ก. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกัน
ข. เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน
ค. เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ง. ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีคอมพิวเตอร์


4.เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท 
ก. 4 เครือข่าย
ข. 6 เครือข่าย
ค. 5 เครือข่าย
ง. 3 เครือข่าย


5.เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย มีกี่ชนิด
ก. 2 ชนิด
ข. 3 ชนิด
ค. 4 ชนิด 
ง. 5 ชนิด

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินงานธุรกิจในปัจจุบันเป็นไปอย่างราบรื่น ช่วยให้การส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรสาร โทรศัพท์ อีเมล์
เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้

1.เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น ช่องทางการสื่อสารระหว่างบุคคลมีหลายรูปแบบ เทคโนโลยีคมนาคมช่วยให้การ ติดต่อสื่อสารรวดเร็ว ถูกต้อง และได้รับข้อมูลสะท้อนกลับอย่างทันท
2.เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยปกติการดำเนินงานทางธุรกิจมักจะมีการใช้งาน ข้อมูลร่วมกันในแต่ละแผนก ซึ่งเทคโนโลยีโทรคมนาคมช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารใช้งานข้อมูลร่วมกัน ให้ความสะดวกในการบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ลดความซ้ำซ้อน การทำงานที่ผิดพลาด ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจมีความถูกต้องและมีประสิทธิ์ภาพสูงขึ้น
3.เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น ช่วยให้การรับส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างสะดวก เครื่อง คอมพิวเตอร์ ปลายทางสามารถเรียกใช้ฐานข้อมูลกลางด้วยความเร็วรวด
4.เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น พัฒนาการทางอินเตอร์เน็ตช่วยให้การดำเนินธุรกิจ ออนไลน์พัฒนามะ หยุดยั้งตามไปด้วย กระบวนการทางธุรกิจอัตโนมัติกระทำด้วยการสนับสนุน ของเทคโนโลยี คมนาคมที่ทันสมัย

องค์ประกอบของการสื่อสาร
ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)


การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส



โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)


เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา

วอยซ์เมล์ (Voice Mail)


เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่า วอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม

การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)


เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม

การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)


เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย

กรุ๊ปแวร์(groupware)

เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย

การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)

ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)


เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน

การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)

การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
-เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

ชนิดของสัญญาณข้อมูล
1. สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ

เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถึ่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วีธีวัดความถึ่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถึ่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ

2.สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)
สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล


-Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที


โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)
โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที

ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode)

ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode)

สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ

1.การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
2.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
3.การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)